Alternate Text

คำถาม - คำตอบ


A
"สามารถแจ้งรายละเอียดชื่อ Website, URL , คลิป , เวลา/นาทีในคลิป ที่พบเนื้อหาไม่เหมาะสม ส่งรายละเอียดดังกล่าวมาที่ Email: [email protected] เมื่อได้รับข้อมูลคำร้องแล้ว จะประสานงานตรวจสอบ และระงับต่อไปครับ"

A
ในกรณีการแจ้งเรื่องแทนนั้น ต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
1) หนังสือมอบอำนาจดำเนินการแทน
2) หลักฐานการชำระเงิน
3) หลักฐานการสนทนา
4) รายละเอียดสินค้า
แนะนำรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามด้านล่าง ส่งมาที่ Email: [email protected] , Fax : 02-1275789 หรือสามารถติดต่อผ่านสายด่วน 1212 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

A
ข้อแนะนำในการตรวจสอบ และแก้ไข
1. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเครื่องใดในระบบเน็ตเวิร์คที่มีพฤติกรรมผิดปกติ โดยอาศัยการวิเคราะห์จากข้อมูล Log อุปกรณ์ Network security เช่น firewall, web proxy, ids/ips เป็นต้น
2. หากพบเครื่องที่มีพฤติกรรมผิดปกติให้ตัดการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในทันที
3. ดำเนินการตรวจสอบเครื่องที่ผิดปกติเพื่อหาช่องทางที่ผู้โจมตีใช้ในการเจาะระบบ
4. ดำเนินการปิดช่องโหว่ที่พบ จากนั้นทำการอัปเดตฐานข้อมูลแอนติไวรัส และสแกนเพื่อลบมัลแวร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ออกจากเครื่อง
ทั้งนี้ ปัจจุบันทางเรามีหน่วยงาน ThaiCERT ที่ดูแลด้านปัญหาภัยคุกคาม Cyber โดยตรงเช่นกัน
สามารถแวะชมรายละเอียดด้านภัยคุกคาม Cyber เพิ่มเติมได้ที่ (www.thaicert.or.th) หรือติดต่อสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่ 02-123-1212 ครับ

A
สามารถแจ้งรายละเอียดชื่อ Website, URL , คลิป , เวลา/นาทีในคลิป ที่พบเนื้อหาไม่เหมาะสม ส่งรายละเอียดดังกล่าวมาที่ Email: [email protected] เมื่อได้รับข้อมูลคำร้องแล้ว จะประสานงานตรวจสอบ และระงับต่อไปครับ

A
"1. เก็บรวบรวมข้อมูล เช่น capture หน้าจอ รวบรวมไฟล์ที่มีการละเมิด หรือสั่งพิมพ์ออกมาเป็นหลักฐานการกระทำผิดเป็นต้น 2. แจ้งความที่สถานีตำรวจ (ที่สน.ไหนก็ได้) เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยการประสานความร่วมมือกับกระทรวงไอซีที 3. ติดตามความคืบหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป 4. หรือสามารถรวบรวมข้อมูล หลักฐาน ต่างๆ แจ้งมาที่ 1212 ETDA ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร 1212 ได้ตลอด 24 ชม. หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น 1212 ETDA "

A
สามาแจ้งแจ้งข้อมูลสินค้า รายละเอียดที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น ชื่อร้านผู้ขาย รหัสร้านค้า แจ้งได้ที่สายด่วน 1212 ตลอด 24 ชั่วโมง
occ 1212 ทำการประสานงานติดต่อไปยัง e-Marketplace นั้นๆ เพื่อหาแนวทางแก้ไข ซึ่งหากทราบผลอย่างไร จะติดต่อกลับแจ้งผู้ร้องทราบทันทีครับ

A
"ข้อแนะนำในการป้องกัน 1. อย่าหลงเชื่ออีเมลหลอกลวงที่ต้องการให้เปลี่ยนรหัสผ่าน หรือให้อัปเดตข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่แน่ใจว่าเป็นอีเมลที่มาจากใคร ให้รีบปรึกษาผู้ดูแลระบบ หรือสอบถามกับผู้ที่ส่งข้อมูลมาในช่องทางอื่นๆ กลับไปอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าความถูกต้องก่อนดำเนินการใดๆ 2. หากผู้ใช้งานอัปเดตข้อมูลไปยังหน้าเว็บ Phishing ดังกล่าวแล้ว ให้รีบเข้าทำการล็อกอินเพื่อเปลี่ยนข้อมูลรหัสผ่านบัญชีนั้นๆในทันที รวมถึงตรวจสอบความผิดปกติในส่วนอื่นๆ เช่น ส่วนการกู้คืนข้อมูล อาจมีการถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นข้อมูลของผู้ไม่หวังดี เป็นต้น 3. แจ้งเตือนและเผยแพร่แนวทางป้องกันนี้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงดังกล่าว 4. นอกจากนี้ยังสามารถอ่านเคล็ดลับอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อจากอินโฟกราฟฟิคของไทยเซิร์ต (www.thaicert.or.th) (https://www.thaicert.or.th/downloads/files/info_ThaiCERT_Mail-Scam.jpg, https://www.thaicert.or.th/downloads/files/info_ThaiCERT_Phishing.jpg) ทั้งนี้ ปัจจุบันทางเรามีหน่วยงาน ThaiCERT ที่ดูแลด้านปัญหาภัยคุกคาม Cyber โดยตรงเช่นกัน สามารถแวะชมรายละเอียด ด้านภัยคุกคาม Cyber เพิ่มเติมได้ที่ (www.thaicert.or.th) หรือติดต่อสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่ 02-123-1212 ครับ"

A
แนะนำรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามด้านล่าง ส่งมาที่ Email: [email protected] , Fax : 02-1275789 หรือสามารถติดต่อผ่านสายด่วน 1212 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หลักฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่
1) หลักฐานการชำระเงิน
2) หลักฐานการสนทนา
3) รายละเอียดสินค้า
4) รายละเอียดผู้ร้อง ชื่อ-สกุล,ที่อยู่,เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น

A
1. ความผิดพลาดของผู้ขาย เช่น ละเลยต่อการส่งของ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลง
2. ความผิดพลาดของหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งสินค้า (ควรตรวจสอบและเลือกหน่วยงานรับผิดชอบการจัดส่งที่น่าเชื่อถือ และปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามมาตรฐาน)
3. ความผิดของผู้ซื้อเอง เช่น ชำระเงินล่าช้า แจ้งที่อยู่เพื่อส่งของช้า หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการซื้อขายตั้งแต่แรก

A
ขั้นตอนการแจ้งลบคลิปวิดีโอบน youtube.com นั้น ท่านสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยจะต้อง Log in เข้าใช้งาน Gmail ก่อน เมื่อ พบคลิปวิดีโอที่ต้องการแจ้งลบ ให้ Click เข้าไปดู แล้วเลื่อนลงมาบริเวณด้านล่าง จากนั้น Click รูปธง ตาม (1) แล้วเลือกเหตุผลตาม (2) ซึ่งในกรณีตัวอย่างให้เลือกเป็น Infringes my rights แล้วดำเนินการตามขั้นตอนที่เหลือ จากนั้นก็รอให้ทาง YouTube ลบคลิปดังกล่าวออกไป ซึ่งอาจใช้เวลาพอสมควร หรืออาจไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของ YouTube

A
"วิธีรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อให้สามารถรับมือและป้องกันการโดนเจาะระบบที่นำมาซึ่งความเสียหายอันไม่สามารถประเมินค่าได้ 1. ระมัดระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ไม่คลิกไฟล์แนบจากผู้อื่นกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันก่อนที่จะส่งให้ และโปรดระมัดระวังความเสี่ยงจากการเปิดไฟล์ผ่านโปรแกรม Internet Messaging หรือช่องทาง Social Media ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการติดมัลแวร์ เนื่องจากหลายครั้งพบว่ามัลแวร์มักจะถูกส่งมากับไฟล์แนบหรือจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม 2. ไม่ใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันกับทุกระบบ 3. ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย และพิจารณาข้อมูลก่อนการแชร์ต่อ ตลอดจนไม่ส่งต่อข้อมูลที่ไม่ได้รับการยืนยันจากผู้เกี่ยวข้อง หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้งมายัง 1212 ETDA ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผ่านโทรศัพท์ 1212 อีเมล [email protected] เว็บไซต์และแอพลิเคชั่น 1212 ETDA เพื่อรวบรวมข้อมูลและประสานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป ข้อมูลจาก ETDA โดย ThaiCERT"

A
"ข้อแนะนำในการแก้ไข 1.ตรวจสอบก่อนว่าถูกแฮกจริงหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะทราบได้จากการส่งอีเมลแจ้งเตือนว่ามีการล็อกอินจากอุปกรณ์ที่ไม่เคยถูกใช้ล็อกอินมาก่อนหน้านี้หรือมีการล็อกอินจากต่างสถานที่ (เช่น คนละจังหวัดหรือคนละประเทศ) รวมถึงส่งอีเมลแจ้งเตือนและขอให้ยืนยันเมื่อมีการพยายามเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชี Facebook เป็นต้น 2.เปลี่ยนรหัสผ่านทันที 3.รวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากข้อมูลที่ Facebook แสดงรายการอุปกรณ์ที่ล็อกอินไม่ได้แสดงประวัติการให้งานแต่เป็นรายการอุปกรณ์ที่กำลังล็อกอินอยู่ในปัจจุบัน หากสั่งระงับการใช้งาน Facebook บนอุปกรณ์อื่นไปแล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาเก็บรวบรวมข้อมูลได้อีก 4.ระงับการใช้งาน Facebook บนอุปกรณ์อื่น ข้อแนะนำในการป้องกัน 1.ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก 2.ล็อกเอาท์ทุกครั้งหากล็อกอิน Facebook ในคอมพิวเตอร์สาธารณะ 3.ไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์จากแหล่งที่มาภายนอก 4.อัปเดตซอฟต์แวร์และแอนติไวรัสในเครื่องอย่างสม่ำเสมอ 5.ไม่เชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะหากไม่จำเป็น เพราะอาจถูกขโมยข้อมูลได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันทางเรามีหน่วยงาน ThaiCERT ที่ดูแลด้านปัญหาภัยคุกคาม Cyber โดยตรงเช่นกัน สามารถแวะชมรายละเอียดด้านภัยคุกคาม Cyber เพิ่มเติมได้ที่ (www.thaicert.or.th) หรือติดต่อสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่ 02-123-1212 ครับ"

A
"1. ไม่ใช้รหัสผ่านที่มากับเครื่อง เนื่องจากรหัสผ่านเหล่านี้สามารถค้นหาได้ทั่วไปจากอินเทอร์เน็ตและมัลแวร์ที่โจมตีอุปกรณ์ IoT มีรหัสผ่านของอุปกรณ์ IoT ส่วนใหญ่ในฐานข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อเข้ามาควบคุมเครื่องได้ทันที 2. อย่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหากไม่จำเป็น อุปกรณ์ IoT บางอย่าง เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องชงกาแฟ ผู้ใช้มักจะมีความจำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้เมื่ออยู่ที่บ้านเท่านั้น การเปิดให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถถูกเข้าถึงได้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอาจเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเพิ่มความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัย 3. ปิดไม่ให้เข้าถึงการตั้งค่าของเครื่องได้จากอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์หลายรุ่นสามารถตั้งค่าให้ปิดการเข้าถึงส่วนที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์จากภายนอกได้ เพื่อช่วยลดความเสียหายจากการถูกผู้ประสงค์ร้ายเชื่อมต่อเข้ามาควบคุมเครื่อง (ยังสามารถตั้งค่าของเครื่องได้จากการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายภายใน) 4. ติดตามข่าวสารและอัปเดตเฟิร์มแวร์เป็นประจำหากทำได้ หากผู้ผลิตมีการอัปเดตเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์ ในหลายครั้งมักมีการแก้ไขช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยรวมอยู่ด้วย ผู้ใช้ควรตรวจสอบและอัปเดตเฟิร์มแวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อความปลอดภัย 5. หากพบความผิดปกติอาจลอง reboot อุปกรณ์ เนื่องจากมัลแวร์ใน IoT ส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องเท่านั้น การ reboot เครื่องอาจช่วยลบกำจัดมัลแวร์ได้ (reboot เสร็จควรเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาติดซ้ำอีกครั้ง) ทั้งนี้ ปัจจุบันทางเรามีหน่วยงาน ThaiCERT ที่ดูแลด้านปัญหาภัยคุกคาม Cyber โดยตรงเช่นกัน สามารถแวะชมรายละเอียดด้านภัยคุกคาม Cyber เพิ่มเติมได้ที่ (www.thaicert.or.th) หรือติดต่อสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่ 02-123-1212 ครับ"

A
ท่านสามารถติดต่อ 1212 OCC ได้ 5 ช่องทาง ได้แก่
1) ทางโทรศัพท์ : 1212
2) ทาง E-mail : [email protected]
3) ทางโทรสาร : 02-127-5789
4) Website : www.1212OCC.com
5) Application : 1212 OCC

A
1212 OCC ให้บริการแก่ผู้ร้องเรียนด้านการให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา ตลอดจนรับเรื่องและประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน โดยครอบคลุม ๔ กลุ่มหลัก ได้แก่
• การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
• การซื้อขายทางออนไลน์
• ภัยคุกคามทางไซเบอร์
• เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในการให้บริการ 1212 OCC จะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ และประสานงานไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการแก้ไขปัญหาตามเรื่องร้องเรียนที่ได้รับแจ้ง โดยการประสานงาน และให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถภายใต้ขอบเขตที่สามารถดำเนินการได้ รวมถึงการให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะอื่นใดเพิ่มเติม

A
วิธีรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงานองค์กร เพื่อให้สามารถรับมือและป้องกันการโดนเจาะระบบที่นำมาซึ่งความเสียหายอันไม่สามารถประเมินค่าได้
1. ตรวจสอบและยืนยันสิทธิการเข้าระบบที่สำคัญของบัญชีผู้ใช้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นเข้าถึงระบบและข้อมูล
2. เพิ่มมาตรการป้องกันเว็บไซต์สำคัญด้วยระบบการป้องกันการโจมตี เช่น Web Application Firewall หรือ DDoS Protection โดยสามารถขอรับบริการได้ที่ ThaiCERT/ETDA
3. แจ้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ไม่คลิกไฟล์แนบจากผู้อื่นกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันก่อนที่จะส่งให้ และโปรดระมัดระวังความเสี่ยงจากการเปิดไฟล์ผ่านโปรแกรม Internet Messaging หรือช่องทาง Social Media ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการติดมัลแวร์ เนื่องจากหลายครั้งพบว่ามัลแวร์มักจะถูกส่งมากับไฟล์แนบหรือจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. หากพบพิรุธว่าระบบถูกโจมตี เช่น ไม่สามารถเข้าใช้งานระบบ/เว็บไซต์ได้ หรือมีความล่าช้ากว่าปกติ ควรตรวจสอบข้อมูลการเข้าถึงระบบที่สำคัญ เช่น ข้อมูล Log ย้อนหลัง 30 วัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติในการเข้าถึงข้อมูล
5. ตั้งค่าระบบงานที่สำคัญให้บันทึกเหตุการณ์ (Log) การเข้าใช้งานระบบไม่ต่ำกว่า 90 วัน หรือตามที่กฎหมายกำหนด
6. หากเป็นไปได้ ให้หน่วยงานส่งรายชื่อผู้ติดต่อ (Contact Point) กรณีเกิดเหตุภัยคุกคามไซเบอร์มายัง ThaiCERT
หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้งมายัง 1212 OCC ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผ่านโทรศัพท์ 1212 อีเมล [email protected] เว็บไซต์และแอพลิเคชั่น 1212 OCC เพื่อรวบรวมข้อมูลและประสานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป
ข้อมูลจาก ETDA โดย ThaiCERT

A
เมื่อพบเห็น ไม่ควรกดถูกใจ ห้ามส่งต่อ หรือโพสต์ลงเผยแพร่ในที่ใดๆ พร้อมรวบรวมข้อมูล URL และ Capture หน้าจอส่งมาที่ 1. 1212 OCC ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร 1212 ได้ตลอด 24 ชม. หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น 1212 OCC 2. กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (http://www.tcsd.in.th) 3. กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (http://www.hightechcrime.org)

A
"เมื่อพบปัญหาดังกล่าว แนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ตรวจสอบสถานะการส่งสินค้า จากไปรษณีย์ บริษัทจัดส่งสินค้า เว็บไซต์ของร้านค้า 2. ตรวจสอบข้อกำหนด/เงื่อนไขในการสั่งซื้อ การจัดส่ง สินค้าของเว็บไซต์ผู้ขายตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้า เช่น ได้ชำระเงินภายในระยะเวลาทีตกลงแล้วหรือไม่ 3. จัดเตรียมเอกสาร/ข้อมูล ไฟล์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ถ่ายภาพสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น แสดงต่อผู้ขายหรือ Marketplace 4. ติดต่อกลับไปยังเว็บไซต์ผู้ขาย แจ้งความต้องการพร้อมแสดงเอกสาร ข้อมูลที่มีอยู่ ให้ผู้ขาย หรือ Marketplace ดำเนินการแก้ไขให้ 5. หากยังไม่พบความคืบหน้า สามารถรวบรวมข้อมูล หลักฐานดังกล่าว แจ้งมาที่ ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร 1212 ได้ตลอด 24 ชม. หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น 1212 ETDA เพื่อเป็นอีกช่องทางในการช่วยดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป"

A
1. ไม่เปิดลิงก์ที่แนบมาในสื่อโซเชียลต่าง ๆ หรืออีเมล เนื่องจากผู้โจมตีมีเทคนิคมากมายในการปลอมชื่อผู้ส่งให้เหมือนมาจากองค์กรนั้นจริง ๆ
2. ในการตรวจสอบไฟล์ไม่แนะนำให้ตรวจสอบในเครื่องที่ใช้งานอยู่ แนะนำให้ตรวจสอบไฟล์เบื้องต้นว่าไฟล์นั้น
เป็นไฟล์อันตรายหรือไม่ผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการในลักษณะ Sandboxing เช่น https://www.virustotal.com เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันทางเรามีหน่วยงาน ThaiCERT ที่ดูแลด้านปัญหาภัยคุกคาม Cyber โดยตรงเช่นกัน
สามารถแวะชมรายละเอียดด้านภัยคุกคาม Cyber เพิ่มเติมได้ที่ (www.thaicert.or.th) หรือติดต่อสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่ 02-123-1212 ครับ